การวัดรังสีคอสมิก

รังสีคอสมิกคืออนุภาคที่มีประจุซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากนอกระบบสุริยะ แล้วทำไมเราถึงเรียกมันว่ารังสีล่ะ?  ก็เพราะการตรวจจับรังสีคอสมิกเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เราจะสามารถนึกภาพได้ว่ามันคืออะไรกันแน่

แต่เดิมเราเชื่อว่ารังสีคอสมิกเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิด เช่น ประกอบด้วยโฟตอน เหมือนกับรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมา  การวัดรังสีคอสมิกครั้งแรกเกิดขึ้นโดยวิกเตอร์ เฮส ในปี 1912 เขาวัดรังสีคอสมิกโดยขึ้นไปกับบอลลูน เราได้รู้ว่า “รังสีที่มีพลังทะลุทะลวงมหาศาลกำลังเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของเราจากเบื้องบน” ซึ่งไม่รวมดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิด  ไม่กี่ปีต่อมาเราก็ค้นพบว่า “รังสี” นี้จริง ๆ แล้วเป็นอนุภาคที่มีประจุ เนื่องจากเราสังเกตว่ารังสีคอสมิกถูกเบี่ยงเบนด้วยสนามแม่เหล็ก โฟตอนเป็นอนุภาคไร้ประจุและไม่เบี่ยงเบนด้วยสนามแม่เหล็ก

อนุภาคที่มีประจุ เช่น โปรตอนหรือ นิวเคลียสที่หนักกว่า จะโค้งงอเมื่อเดินทางผ่านสนามแม่เหล็ก แต่อนุภาคไร้ประจุ เช่น โฟตอนหรือ นิวทริโน จะไม่โค้งงอ

รังสีคอสมิกมีอยู่มากมาย และเดินทางไปถึงทุกมุมของโลกและอวกาศอย่างต่อเนื่อง การตรวจจับรังสีคอสมิกเพียงไม่กี่อนุภาคไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยชุดอุปกรณ์ที่เรียกว่า “cloud chamber” หรือแม้แต่ใช้โทรศัพท์ของคุณ phone

อย่างไรก็ตาม หากคุณต้องการใช้รังสีคอสมิกเพื่อศึกษาเอกภพอันไกลโพ้น คุณจำเป็นต้องตรวจจับรังสีคอสมิกที่มีพลังงานสูงมาก ๆ และคุณจำเป็นต้องวัดสมบัติของมันอย่างละเอียด นักวิทยาศาสตร์จึงได้ประดิษฐ์เครื่องตรวจวัดอนุภาคภาคพื้นดิน (ground-based) และอวกาศ (space-based) ขึ้นมากมาย IceTop และ IceCube เป็นเครื่องตรวจวัดรังสีคอสมิกขนาดใหญ่ ขนาดที่ตั้ง และการออกแบบเครื่องตรวจวัดของพวกมัน ช่วยให้สามารถสังเกตการณ์รังสีคอสมิกได้เกือบทั่วทั้งซีกโลกใต้ตลอดทั้งวัน  IceCube ยังเป็นสามารถตรวจวัดนิวทริโนอีกด้วย

รังสีคอสมิกพลังงานสูงมากคืออะไร?

รังสีคอสมิกส่วนใหญ่ในกาแลคซีมีพลังงานระหว่าง 100 MeV ถึง 10 GeV  หากรังสีคอสมิกเหล่านั้นเป็นโปรตอน ซึ่งมักจะเป็นเช่นนั้น พวกมันจะเดินทางด้วยความเร็วระหว่าง 45% ถึง 99.6% ของความเร็วแสง  รังสีคอสมิกพลังงานต่ำซึ่งมีมากที่สุด มักจะศึกษาด้วยเครื่องตรวจวัดขนาดเล็กที่นำขึ้นไปกับบอลลูนและดาวเทียม

ด้านขวาเป็นรังสีคอสมิกที่แตกตัวในชั้นบรรยากาศเดินทางถึงเครื่องตรวจวัด Ice Top
ด้านซ้ายมือคือรังสีคอสมิกที่เป็นโปรตรอนพลังงาน 1 EeV บนสวิสเซอร์แลนด์ (video: https://www.youtube.com/watch?v=WgzAwKe5aTQ).

เมื่อรังสีคอสมิกพลังงานสูงชนกับบรรยากาศของโลก มันจะแตกตัวเป็นอนุภาคย่อย ๆ ที่เรียกว่า air shower ซึ่งเราสามารถตรวจวัดได้ที่พื้นดิน เหตุการณ์เหล่านี้พบได้น้อยกว่ามาก เนื่องจากปริมาณรังสีคอสมิก (cosmic-ray flux) ลดลงอย่างรวดเร็วตามที่พลังงานเพิ่มขึ้น และอนุภาคทุติยภูมิ (secondary particles) จะกระจายไปบนพื้นที่ขนาดใหญ่บนผิวโลก เราใช้กลุ่มเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน (arrays of ground-based detectors) ที่ทำงานเป็นเวลานานเพื่อศึกษารังสีคอสมิกที่มีพลังงานประมาณ 100 เทราอิเล็กตรอนโวลต์ (TeV) ขึ้นไป

เราเข้าใจรังสีคอสมิกพลังงานต่ำได้ดี แต่ต้นกำเนิดและลักษณะของรังสีคอสมิกพลังงานสูงยังเป็นปริศนาทางวิทยาศาสตร์ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ยาวนานถึง 100 ปี โดยการศึกษาสมบัติของรังสีคอสมิกพลังงานสูงเพิ่มเติม เราหวังว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดและกระบวนการทางฟิสิกส์ที่ธรรมชาติสามารถเร่งอนุภาคไปยังพลังงานที่มากกว่าเครื่องเร่งอนุภาคที่มนุษย์สร้างขึ้นถึงหนึ่งล้านเท่า

ปริมาณรังสีคอสมิกจะลดลงอย่างมากตามที่พลังงานของอนุภาคเพิ่มขึ้น  ที่ระดับพลังงานเหนือ 1015 อิเล็กทรอนโวลต์  “ความชัน” ของการลดลงของพลังงานจะเปลี่ยนไป ส่งผลให้สเปกตรัมของรังสีคอสมิก มีลักษณะเป็น “หัวเข่า” บริเวณรอบ ๆ 1018 อิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งเรียกว่า “ข้อเท้า” ความชันก็จะเปลี่ยนไปอีกครั้ง รังสีคอสมิกที่พลังงานต่ำกว่า “หัวเข่า” จะมาจากกาแลคซีของเราเท่านั้น ส่วนรังสีคอสมิกที่พลังงานสูงกว่า “ข้อเท้า” คาดว่าจะมาจากนอกกาแลคซีเท่านั้น

การวัดรังสีคอสมิกด้วย IceTop

IceTop เป็นอาร์เรย์เชเรนคอฟ (Cherenkov array) ประกอบด้วยถังน้ำแข็ง 162 ถัง ทำหน้าที่ตรวจจับอนุภาคประจุที่เกิดขึ้นรอง (secondary charged particles) ในฝักบัวของรังสีคอสมิก IceTop สามารถตรวจจับอิเล็กตรอน โฟตอน มิวออน และแฮดรอนประจุในฝักบัวได้ โดยอาศัยแสงสีฟ้าที่เรียกว่า แสงเชเรนคอฟ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคเหล่านี้เดินทางผ่านเครื่องตรวจวัด อนุภาคเหล่านี้จะเคลื่อนที่แบบสัมพัทธภาพผ่านถังน้ำแข็งแช่แข็งด้วยความเร็วที่เร็วกว่าความเร็วแสงในน้ำแข็ง

การแตกตัวของรังสีคอสมิกตามปกติจะกระจายไปยังถัง IceTop จำนวนหนึ่ง แสงที่เกิดขึ้นในแต่ละถัง ช่วยในการประมาณพลังงานของอนุภาคทุติยภูมิที่เข้ามา ข้อมูลจากอาร์เรย์ทั้งหมดสามารถนำไปใช้สร้างแบบจำลองรูปร่างและความเข้มของอนุภาคที่เข้ามาโดยรวม ซึ่งสามารถประมาณพลังงานและทิศทางของรังสีคอสมิกที่มาได้

อนุภาคที่แตกตัวในชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนไปเมื่อเดินทางถึงพื้นผิวโลก แต่มิวออนสามารถเดินทางหลายกิโลเมตรในน้ำแข็ง IceCube ซึ่งอยู่ใต้ IceTop ที่ความลึกตั้งแต่ 1.5 ถึง 2.5 กิโลเมตร ก็จะตรวจจับมิวออนจากรังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศด้วย

IceTop ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 2,835 เมตรที่ขั้วโลกใต้ ช่วยให้สามารถศึกษาการรังสีคอสมิกได้ตั้งแต่ประมาณ 100 TeV ไปจนถึงระดับ EeV  ซึ่งบริเวณนี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากครอบคลุมช่วงการเปลี่ยนผ่านระหว่างรังสีคอสมิกของกาแลคซีและนอกกาแลคซี (ดูรูปด้านบน)

นักวิจัยของ IceCube สามคน รวมถึง Casey O’Hara ครูจาก PolarTREC ยืนอยู่หน้าถัง IceTop ที่สร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2009

รังสีคอสมิกของกาแลคซีและนอกกาแลคซี ครอบคลุมช่วงพลังงานที่ต่างกัน แต่ยังแสดงความแตกต่างในองค์ประกอบทางเคมีของรังสีคอสมิกปฐมภูมิด้วย

การเปรียบเทียบพลังงานของรังสีคอสมิกที่วัดได้ที่วัดโดย IceTop ซึ่งรวมถึง อิเล็กตรอน โฟตอน มิวออน และแฮดรอนประจุ กับพลังงานที่วัดโดย IceCube ซึ่งอาศัยเฉพาะมิวออน เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบมวลของรังสีคอสมิก ในช่วงพลังงานตั้งแต่ประมาณ 100 TeV ถึง 1 EeV  อัตราส่วนระหว่างรังสีคอสมิกหนัก เช่น นิวเคลียสของเหล็ก กับรังสีคอสมิกเบา เช่น โปรตอน คาดว่าจะแสดงลักษณะเฉพาะในการเปลี่ยนผ่านจากแหล่งกำเนิดในกาแลคซีไปยังนอกกาแลคซี

Extragalactic cosmic radiation is expected to become visible in the energy spectrum of light primary particles first, as these will be the first particles to leave their home galaxy. The image above is based on a graphic by KITรังสีคอสมิกนอกกาแลคซี คาดว่าจะมองเห็นได้ในสเปกตรัมพลังงานของอนุภาคเบื้องต้นเบาเป็นอันดับแรก เนื่องจากอนุภาคเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกที่ออกจากกาแลคซีบ้านเกิดของมัน ภาพด้านบนอ้างอิงจากกราฟิกโดย KIT (ลิงค์)

IceTop เพียงอย่างเดียว ยังสามารถวัดสเปกตรัมพลังงานของอนุภาคทั้งหมดของรังสีคอสมิกบริเวณหัวเข่า (knee) ขึ้นไปจนถึงข้อเท้า (ankle) ได้ ผลลัพธ์ในช่วงพลังงานตั้งแต่ 1.6 PeV ถึง 1.3 EeV แสดงการเบี่ยงเบนจากกฎกำลังง่ายๆ (simple power law) ตามที่คาดการณ์ไว้สำหรับแหล่งกำเนิดผสมระหว่างกาแลคซีและนอกกาแลคซี การเจาะลึกลงไปในโครงสร้างนี้จะช่วยให้เราเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบนอกกาแลคซีกลุ่มแรกของฟลักซ์รังสีคอสมิก

สเปกตรัม IceTop 73 ในช่วงพลังงานตั้งแต่ 1.6 PeV ถึง 1.3 EeV เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองอื่น ๆ ล่าสุด แถบสีเทาแสดงข้อผิดพลาดเชิงระบบ ภาพ: IceCube Collaboration

นอกเหนือจากคุณสมบัติของรังสีคอสมิกเองแล้ว รายละเอียดในการกระจายของทิศทางที่มาของรังสีคอสมิก สามารถช่วยให้เราเข้าใจภายในของกาแลคซีของเรา IceTop และ IceCube ได้ทำการสร้างภาพรังสีคอสมิกแอนไอโซโทรปี (anisotropy) ในซีกโลกใต้เป็นครั้งแรก  แอนไอโซโทรปีในทิศทางการมาถึงของรังสีคอสมิกพลังงานสูงเคยถูกตรวจพบโดยเครื่องตรวจจับหลายเครื่องในซีกโลกเหนือมาก่อนหน้านี้ แหล่งกำเนิดของการแอนไอโซโทรปีเหล่านี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจดี แต่นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าสนามแม่เหล็กในระบบสุริยะหรือแหล่งกำเนิดใกล้เคียงน่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ

แผนที่ท้องฟ้าย่านรังสีคอสมิกแอนไอโซโทรปี (cosmic-ray anisotropy) จาก IceTop และ IceCube แสดงความแอนไอโซโทรปีที่พลังงานต่างๆ และที่สเกลเชิงมุมต่างๆ ที่ระดับพลังงาน 20 TeV